News
icon share

เคแบงก์ชี้สินเชื่ออสังหายังเนื้อหอม แบงก์รุมตอม แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากข้อกังวลปัญหาหนี้เสียเล็กน้อย

LivingInsider Report 2017-03-30 12:04:06
เคแบงก์ชี้สินเชื่ออสังหายังเนื้อหอม แบงก์รุมตอม แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากข้อกังวลปัญหาหนี้เสียเล็กน้อย

 

 

เคแบงก์ชี้สินเชื่ออสังหายังเนื้อหอม แบงก์รุมตอม แต่มีปัจจัยเสี่ยงจากข้อกังวลปัญหาหนี้เสียเพิ่มเล็กน้อยในระบบ งานสัมมนาประจำปีสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เมื่อวันพุธ 29 มีนาคม 2560 หัวข้อ "ภาวะเศรษฐกิจการเงินปี 2560" มีรายละเอียดดังนี้
 


ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า จะพูด 3 ส่วน เศรษฐกิจไทย, การเงินของแบงก์ และมุมมองที่ท้าทายของแบงก์ในอนาคต ทั้งหมดไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่
 


เริ่มจากความล้มเหลวที่ไม่สามารถล้มกฎหมายโอบามาแคร์ได้ สำคัญเพราะงบประมาณรัฐบาลสหรัฐ ​17% ของจีดีพีอยู่ในการสาธารณสุข เทียบเยอรมนี ญี่ปุ่น 10% ไทยน่าจะ 6% ถ้าทำได้ทรัมป์จะเอาไปลดภาษีได้เยอะเลย แต่พอทำไม่ได้ก็ผูกกันเป็นลูกโซ่ เพราะถ้าไม่สามารถประหยัดเงินตรงนั้นได้ จะเอาภาษีมาใช้ตรงนั้น ต้องทำขาดดุลงบประมาณบานเบอะแน่นอน ซึ่งกฎหมายเพดานหนี้สหรัฐ 2 ล้านล้าน ทำให้เงินดอลลาร์ร่วงลง
 


สิ่งที่เรากังวลคือไม่รู้จะจบยังไง ไม่สามารถคุยกันได้ใน 1-2 เดือน เดิมคาดว่าจะยุติได้ในเดือน ก.ย.นี้ คิดว่าอาจจบได้แต่อาจไม่ถูกใจอเมริกัน
 


ประเด็นการเลือกตั้งยุโรป ในฝรั่งเศสกำลังลุ้นมารีน เลอ เพน, ฝรั่งเศส, เยอรมนี ถ้ามีอะไรกระทบเศรษฐกิจยุโรป กระทบค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นได้
 


ผมเลือกหยิบตัวเลขส่งออกสองตัวสุดท้าย "ดัชนีราคาสินค้าส่งออก-วอลุ่มส่งออก" การส่งออกรวมเพิ่ม 2% เพราะราคาขึ้น แต่วอลุ่มยังติดลบ-1.5% โดยราคายางเข้ามาช่วย 60% มองว่าเป็นภาพที่แล้วแต่คนจะหยิบอะไรมาดู 
 


การนำเข้า สินค้าทุนยังติดลบ เอกชนยังไม่ลงทุน กังวลราคาสินค้านำเข้าเพิ่มมากกว่าราคาสินค้าส่งออก นั่นคือความสามารถในการแข่งขันลดลง สวนทางกับเงินบาทแข็งค่าขึ้น 3%
 


เศรษฐกิจไทยปี 2560 ตัวขับเคลื่อนหลักยังมาจากการลงทุนภาครัฐ การบริโภคเอกชน แต่การลงทุนเอกชนยังไม่ขยับ
 


ผลดำเนินงานระบบสถาบันการเงิน อัตราเติบโตสินเชื่อโตต่ำ 2%, หนี้่เสียค่าเฉลี่ยขยับเป็น 2.8% โดยเอสเอมอีเพิ่มเป็น 5%
 


หนี้เสียภาคอสังหาฯ 2.9% ไม่ได้เยอะแต่สูงขึ้น แต่เดิมคิดว่าคนไม่ทิ้งสินเชื่อที่อยุ่อาศัย แต่ในแง่การเพิ่มขึ้นมีให้เห็นชัดเจน นำไปสู่แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ เพราะไม่ต้องการตั้งสำรองเพิ่ม 
 


แนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3.3% สินเชื่อคาดว่าขยายตัวได้ 4% จาก 2.4% ในปีที่แล้ว คณะกรรมการการเงินยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% เงินเฟ้อขยับจาก 0.2% เป็น 1.5%
 


สินเชื่อภาคอสังหาฯ คาดขยายตัวใกล้เคียงกับปี 2559 คาดการณ์โต 7% เทียบกับปีที่แล้วโต 7.6% ถือว่าโตดีกว่าพอร์ตรวมของแบงก์ที่คาดการณ์โต 4%, ไตรมาสสองค่อนข้างเงียบโดยธรรมชาติของสินเชื่อ
 


"เครดิตคอสต์" คำนี้แต่ก่อนไม่เคยพูด ก็คือตัวทำสำรองหารด้วยตัวสินเชื่อ เป็นต้นทุน แต่ก่อนไม่ถึง 1 แต่ตอนนี้ 1 บาทกว่าๆ โดยน่าจะ
 


"หนี้ครัวเรือน" ปีนี้คาดยังทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คาดการณ์ 80.1% เหตุการณ์รถคันแรก 
 


ประเด็นท้าทาย มี 4 ตัว เริ่มจาก "โครงสร้างลูกค้า" ไม่เหมือนเดิม ธุรกิจที่เคยแข่งขันได้ ไม่แน่ใจหลังจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, "ดอกเบี้ยขาขึ้น", "การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี" อาทิ ฟินเทค รีเทลเทค และ "กฎระเบียบจากทางการ" อาทิ บาเซล 3.5 และ IFRS 9
 


ในด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่กระทบแค่แบงก์ ยังมีเทเลคอม รีเทล บริษัทจำนวนมากปรับผังธุรกิจรองรับ คอนเซ็ปต์ง่ายๆ คือ เทคโนโลยีเหล่านี้ ทำให้ดีลิเวอร์คอสต์ในต้นทุนที่ต่ำมาก เช่น สาขาแบงก์ เดิมต้องหาตึกแถว จ้างคน ปัจจุบันทำ PtoP-Person to Person บนมือถือ คอสต์ต่ำมาก เข้าถึงคอสต์ดีกว่า เข้าถึงลูกค้าดีก่วา
 


ในมุมแบงก์เราไม่ได้กังวลฟินเทคเท่าไหร่ แต่กลุ่มรีเทล ถ้าอีคอมเมิร์สพัฒนาจนสะดวกมากๆ เช่น โฆษณาบนเฟซบุ๊ก แทบไม่ต้องเข้าคอนวีเนี่ยนสโตร์ด้วยซ้ำไป ตลาดที่ใครก็ตามสร้างแพลตฟอร์มบนต้นทุนถูก มีความสม่ำเสมอ ซึ่งเอสเอมอีมีความสามารถในการปรับตัวน้อย ถ้าแบงก์มีพอร์ตเอสเอมอีต้องนั่งคิดแล้วเขาจะเป็นยังไง จะบอกเขายังไง ต้องทำยังไง
 


เกณฑ์แบงก์ชาติ สำหรับสินเชื่ออสังหามีสองตัว "เงินคำนวณต่อสินทรัพย์เสียง" ให้น้ำหนักไม่เท่ากัน โดยเกณฑ์ใหม่จะคล้อยไปตาม LTV เอียงไปทางคนทำ LTV น้อยได้เปรียบ แบงก์อยากได้ แต่ทำได้ยากในการแข่งขัน กับ unuse credit line ถ้าให้เครดิตเยอะแล้วไม่ใช้ ต้องคอนเวิร์ตด้วย แล้วกลับมาตั้งเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งที่สินเชื่อนั้นยังไม่ได้ปล่อยเลย นั่นคือ แบงก์จะให้สัญญาณลูกค้า 
 


ขณะที่ IFRS9 สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเน้นไปที่การตั้งสำรอง คิดว่าดีต่อเสถียรภาพของระบบ แต่มาใช้ตอนทุกคนมีหนี้เยอะ ทางการอยากให้ใช้ในปี 2562 ถ้าตูมเดียวกระทบเยอะแต่ถ้าทำทยอยทีละเฟสจะดีกว่า เพราะไม่สามารถเสนอแพ็กเกจ LTV 59%
 


เกณฑ์ใหม่โมเดลเปรียบเทียบ แบงก์จะเอียงไปตลาดบน เกินสิบล้านขึ้นไป ตลาดกลาง-ล่างจะเหนื่อย
 


มีการแก้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ "ร่าง พ.ร.บ.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม" กับ "ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2540" มองเชิงบวกว่าเอสเอมอีน่าจะมีฟันดิ้งที่ดีขึ้น เพราะมีสองหน่วยงานเข้ามาดูแลมากขึ้น 
 


ภาพรวม ความท้าทายที่เจอปะปนกัน บางตัวยังไม่แสดงออกในปีนี้ บางตัวทยอยปรากฎช่วงข้างหน้า เช่น สังคมผู้สูงอายุ รีเวิร์ส มอร์เกจ, ขณะที่สินเชื่ออสังหาฯ ลดค่อนข้างยาก เพราะมาร์จิ้นดี นั่นคือในผังถึงยังไงรีเทลมาร์จิ้นโตดีกว่าเซกเมนต์อื่น 
 


เราหนีไม่พ้น วันหนึ่งดอกเบี้ยขึ้น, เทคโนโลยีมาแล้ว อาจไม่ได้ทำแค่รีเทลแต่ทำเพย์เมนต์ด้วย มีนักวิเคราะห์บน cloud ดูว่าใครชำระเงินยังไง ซึ่งข้อมูลดีกว่าแบงก์อีกเพราะมีข้อมูลแค่เมื่อวาน แต่ของเขาทำเรียลไทม์ แต่ประเด็นฟินเทคหรือรีเทลที่เป็นฟินเทคยังมีสเกลที่เล็กกว่า เป็นอีกตลาดหนึ่ง ไม่ได้เบียดจนไม่มีที่ยืน

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490780444

 

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider