รายการโปรด
ไมโครเวฟ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำ บ้าน และ คอนโด ที่แทบจะเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการปรุงอาหาร เพราะมันสามารถปรุงอาหารได้ง่ายและรวดเร็วตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคเร่งรีบในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แต่หากใช้งานผิดวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือแม้กระทั่งถึงชีวิตได้ วันนี้ Living Insider ได้รวบรวมมาให้แล้วว่าภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้ และภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้มีอะไรบ้าง พร้อมแนะนำสัญลักษณ์เข้าไมโครเวฟได้เพื่อให้ทุกใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
ซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนยังใช้งานไมโครเวฟไม่ถูกต้องนัก โดยเฉพาะเรื่องของภาชนะที่เราจับยัดเข้าไมโครเวฟทุกวันอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวหรืออาจเกิดไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่กันเลยทีเดียว เราจึงได้รวบรวม 5 ภาชนะต้องห้าม ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด นี่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่อยากให้มองข้ามครับมาดูกันเลย
อันดับแรกที่หลายๆ ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้ที่หลายคนเข้าใจผิดกันคือสามารถนำภาชนะอย่างจานพลาสติก กล่องเก็บอาหารพลาสติก ซึ่งถ้าหากไม่ใช่พลาสติกประเภททนความร้อนอย่าง Polyethylene terephthalate (PET) หรือ Polypropylene (PP) ก็ไม่ควรนำมาใช้ครับ เพราะหากภาชนะพลาสติกที่ไม่ทนความร้อน เมื่อโดนความร้อนจากรังสีของไมโครเวฟอาจทำให้พลาสติกละลายและเกิดสารปนเปื้อนในอาหารได้ ทั้งนี้ควรหมั่นสังเกตุภาชนะพลาสติกที่มีสัญลักษณ์บ่งบอกว่าสามารถเข้าไมโครเวฟได้จะปลอดภัยกว่าครับ
ส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์บ่งบอกว่าสามารถใช้กับไมโครเวฟได้
อีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าเตาไมโครเวฟไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพราะเมื่อโดนความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟแล้ววัสดุชนิดนี้จะเกิดการสะท้อนกลับ ส่งผลให้ระบบเครื่องไมโครเวฟเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรืออาจจะทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ รวมไปถึงช้อน-ส้อมที่ผลิตจากโลหะอย่าเผลอนำเข้าไปในโครเวฟล่ะ คงไม่ดีแน่ครับ
ควรตรวจเช็คให้ดีก่อนว่าภาชนะนั้นมีลวดลายการเคลือบสีอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างสีเงินหรือสีทองมันสามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟจนก่อให้เกิดประกายไฟได้เลยทีเดียว อีกทั้งยังมีสารปนเปื้อนมาในอาหารอีกด้วย ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เครื่องไมโครเวฟพังก่อนอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น
พลาสติกแรปอาหารเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟ เพราะความร้อนอาจทำให้เกิดไอน้ำบนแผ่นพลาสติกไหลลงไปยังอาหารอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ แนะนำว่าควรนำพลาสติกออกก่อนจะทำการปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟทุกครั้งครับ
วัสดุที่ใช้ผลิตฟอยล์ห่ออาหารก็คืออะลูมิเนียมซึ่งหากกระทบกับรังสีความร้อนจากไมโครเวฟแล้ว อาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้ ถึงแม้ว่าฟอยล์จะทำหน้าที่ในการเก็บความร้อนของอาหาร แต่นี่เป็นวัสดุอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาดครับ
แม้ว่าภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้ จะมีหลากหลายชนิดเต็มไปหมด แต่ก็ยังมีภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้อยู่ 3 ชนิดหลัก ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนี้
จากชนิดของภาชนะที่ได้แนะนำไปข้างต้นว่ามีภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้และไม่ได้แบบไหนบ้าง เราสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์เข้าไมโครเวฟตามรูปภาพด้านล่างนี้
ส่วนภาชนะพลาสติกอื่น ๆ ที่นับว่าเป็นภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ หลัก ๆ ทั้งหมดจะมี 4 ประเภทที่ทุกคนพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีสัญลักษณ์กำกับและคุณสมบัติที่แตกต่างกันดังนี้
พลาสติก PP หรือ Polypropylene เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ในไมโครเวฟ สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 120-140°C โดยไม่เสียรูปทรงหรือละลาย เหมาะสำหรับอาหารร้อนและมันๆ ภาชนะประเภทนี้มักมีสัญลักษณ์รูปไมโครเวฟกำกับไว้
พลาสติก PETE หรือ Polyethylene Terephthalate สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ แต่ควรระวังเพราะทนความร้อนได้ไม่สูงมาก ประมาณ 70-80°C เหมาะสำหรับการอุ่นอาหารระยะสั้นเท่านั้น ไม่ควรใช้กับอาหารที่มีไขมันสูงหรือน้ำตาลมาก
พลาสติก HDPE หรือ High-Density Polyethylene สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ในระดับปานกลาง ทนความร้อนได้ประมาณ 110-120°C ใช้อุ่นอาหารได้ดีพอสมควร แต่ไม่ควรใช้กับอาหารที่มีไขมันสูงหรือต้องใช้เวลานานในการอุ่น
สุดท้ายนี้ หวังว่าทุกคนจะได้รู้กันไปแล้วว่าภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้และภาชนะที่เข้าไมโครเวฟมีแบบไหนบ้าง โดยไม่ว่าจะใช้ภาชนะอะไรนำเข้าไมโครเวฟ อย่าลืมหมั่นสังเกตดูบรรจุภัณฑ์แล้วมองหาสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
สุดท้ายนี้ หวังว่าทุกคนจะได้รู้กันไปแล้วว่าภาชนะที่เข้าไมโครเวฟไม่ได้และภาชนะที่เข้าไมโครเวฟมีแบบไหนบ้าง โดยไม่ว่าจะใช้ภาชนะอะไรนำเข้าไมโครเวฟ อย่าลืมหมั่นสังเกตดูบรรจุภัณฑ์แล้วมองหาสัญลักษณ์ Microwave Safe หรือ Microwavable ก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วรู้เรื่องดีครับ
5 ดาวไปเลยครับ
บทความดีๆ อ่านแล้วตัดสินใจง่ายขึ้นเลยค่ะ
โดยรวมดีนะคะ
แจ่มเลยค่ะ รีวิวได้ครบถ้วน