รายการโปรด
อาคาร 9 ประเภทแจ็กพอต
ไม่ได้ซ้ำเติมแต่บังเอิญตรงกับช่วงที่คนไทย ธุรกิจไทยยังไม่ฟื้นจากโควิด-19 ผ่านมาปีเศษหลังกฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เตรียมความพร้อมบุคลากรรับกฎหมายใหม่
เพราะหลังคณะกรรมการควบคุมอาคารเห็นชอบให้นำกฎกระทรวงดังกล่าวมาบังคับใช้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว การอนุญาตออกแบบ และอนุญาตก่อสร้างอาคารของ อปท. 7,850 แห่งทั่วประเทศ ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงฉบับนี้
สาระสำคัญคือ กำหนดให้การก่อสร้างอาคาร 9 ประเภท ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไปต้องออกแบบอาคารตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ 1.โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร 2.โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม 3.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
4.สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 5.สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 6.สำนักงานหรือที่ทำการ 7.ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า 8.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และ 9.อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ขณะเดียวกันให้การดัดแปลงอาคาร 9 ประเภทที่มีผลเป็นการดัดแปลงพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.ขึ้นไปต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้ด้วย
อาทิ ระบบเปลือกอาคาร ต้องมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมเป็นไปตามค่ามาตรฐาน ทั้งผนังด้านนอกและหลังคาของอาคารที่มีการปรับอากาศของแต่ละประเภทอาคาร ส่วนระบบเปลือกอาคารลักษณะอื่น ถ้าใช้งานพื้นที่หลายลักษณะพื้นที่แต่ละส่วนต้องใช้ข้อกำหนดของระบบเปลือกอาคารตามลักษณะการใช้งาน
ระบบไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน อาทิ อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ รวมทั้งการคำนวณออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ
โดยอาคารที่นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้สามารถนำค่าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ไปหักออกจากค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารได้
และกำหนดให้เจ้าของอาคารมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร พร้อมจัดหาผู้ที่มีคุณสมบัติในการตรวจประเมินเป็นผู้รับรองประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาต หรือแจ้งก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร
นอกจากนี้ เมื่อได้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จ ให้เจ้าของอาคารมีหน้าที่ยื่นเอกสารที่มีการรับรองการอนุรักษ์พลังงานประกอบการยื่นขอใบรับรองการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
กฎกติกาใหม่ทำให้ต้นทุนทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นก็จริง แต่การใช้พลังงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดผลกระทบกับเจ้าของอาคารในระยะแรกการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันไม่ถึง 10,000 ตร.ม. มีข้อยกเว้นไม่นำกฎกระทรวงฉบับนี้มาบังคับใช้ 1 ปีสำหรับอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันตั้งแต่ 5,000 ตร.ม. แต่ไม่ถึง 10,000 ตร.ม. และ 2 ปีสำหรับอาคาร ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. แต่ไม่ถึง 5,000 ตร.ม.
ยกเว้นแค่ชั่วคราวจนถึงปลายปีหน้า จากนั้นอาคารทั้ง 9 ประเภทต้องกัดฟันรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามมา
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/columns/news-808166
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากๆ เลย
อ่านยังไงให้เสียตังงงงงงงง เขียนแบบนี้ต้องเสียตังแน่ๆ
อ่านเพลิน เขียนดี