รายการโปรด
ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า ด้วยความไม่แน่นอนและแรงกดดันทางการเงินที่ถาโถมเข้ามาในตลาดอสังหาริมทรัพย์จากการระบาดของโควิด-19 จึงทำให้ผู้พัฒนาโครงการที่พักอาศัยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลื่อนแผนการเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ๆ ออกไป และมุ่งเน้นไปที่การระบายสต๊อกสินค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยเฉพาะในโครงการที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อสร้างรายได้ให้กลับเข้าบริษัทอย่างรวดเร็ว
นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครชะลอตัว มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมไม่ถึง 10,000 ยูนิต
ซึ่งต่ำกว่าปริมาณการเปิดตัวคอนโดมิเนียมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่มาก ที่มีการเปิดโครงการใหม่มากกว่า 60,000 ยูนิตต่อปี อย่างไรก็ตามหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ธุรกิจต่างๆ ก็ค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวและเริ่มมีผู้พัฒนาโครงการที่พักอาศัยบางรายเปิดตัวคอนโดมิเนียมโครงการใหม่”
โครงการคอนโดมิเนียมใหม่กลุ่มแรกที่เปิดตัวในตลาด คือ โครงการที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ซื้ออยู่อาศัยเองที่มีงบประมาณไม่มากนัก นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่เกิดขึ้นตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายใหม่และแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตโดยโครงการเหล่านี้มีราคาเริ่มต้นต่ำกว่า 2 ล้านบาท และโครงการใหม่ที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมมักจะมีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท
ในทางกลับกัน ไม่มีคอนโดมิเนียมระดับบนและระดับลักซ์ชัวรี่เปิดตัวใหม่ในปีนี้ เนื่องจากยังมีซัพพลายที่คงเหลือในตลาดและต้นทุนที่ดินในย่านใจกลางเมืองยังคงสูงต่อการพัฒนาโครงการ ในขณะที่นักลงทุนมีความระมัดระวังมากขึ้นในการใช้เงินสดจำนวนมากในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเหล่านี้
จากการสำรวจโดยแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่คอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่บางส่วนมีอัตราการขายที่ดีในการเปิดตัวระยะแรก โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่เปิดตัวด้วยสินค้าและราคาที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นฐานกลุ่มใหญ่ของตลาดที่มีกำลังซื้อลดลง และตั้งอยู่ในทำเลที่น่าสนใจที่ยังมีคอนโดมิเนียมในพื้นที่ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสภาวะดังกล่าวจะดูเหมือนเป็นแนวโน้มที่ดีในการฟื้นตัวของตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ แต่ปริมาณคอนโดมิเนียมใหม่ที่จะแล้วเสร็จและจะเข้าสู่ตลาดยังเป็นที่น่ากังวล ในปี 2563 จะมีคอนโดมิเนียมกว่า 60,000 ยูนิตที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ และอีกประมาณ 80,000 ยูนิตจะแล้วเสร็จในปี 2564 – 2565
ด้วยจำนวนคอนโดมิเนียมมากกว่า 140,000 ยูนิตที่รอการโอนในช่วงระยะสองปีข้างหน้านี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการทิ้งเงินจองคอนโดมิเนียมจำนวนมากซึ่งจะทำให้ตลาดกลับเข้าสู่สภาวะผันผวนอีกครั้ง เนื่องจากผู้ซื้อจำนวนมากที่ต้องการเก็บเงินสดไว้อาจตัดสินใจที่จะไม่โอนห้องชุดที่จองไว้
“อนาคตของตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ นั้นขึ้นอยู่กับทิศทางที่ผู้พัฒนาโครงการที่พักอาศัยจะดำเนินร่วมกัน ด้วยจำนวนโครงการคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี ปัจจุบันนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ตลาดจะต้องทำให้ปัญหาเรื่องภาวะโอเวอร์ซัพพลายและเรื่องราคาที่สูงเกินที่มีมายาวนานกลับมามีความสมดุลย์อีกครั้ง” นายรัฐวัฒน์กล่าวเพิ่มเติม
แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี เชื่อว่าในอนาคตโอกาสของตลาดคอนโดมิเนียมยังคงมีอยู่ ซึ่งจะมาจากเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 สายที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 ผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับใหม่ที่จะปลดล็อกทำเลที่มีศักยภาพมากมายสำหรับการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม และความต้องการจากผู้ชื้อต่างชาติที่จะกลับมาอีกครั้งเมื่อสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง
เดอะ เรสซิเดนซ์ แอท สินธร เคมปินสกี้ฯ Branded Residence แบบลีสโฮลด์ใจกลางหลังสวน พร้อมมอบคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
เมื่อวานนี้
“ศุภาลัย ปาล์มสปริงส์ สระบุรี-แก่งคอย” บ้านเดี่ยวซีรีส์ใหม่สไตล์ Tropical Modern ตอบโจทย์ครอบครัวยุคใหม่ เริ่ม 2.99 ลบ.
2024-12-09
“กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่” ขึ้นแท่นทำเลทองบ้านหรู ขายก็ดีลงทุนก็ได้ พบผลตอบแทนจากการเช่า 7.5–10% ต่อปี
2024-12-09
แกรนด์ ยูนิตี้ อัดโปรกระตุ้นยอดขายปลายปี 67 จัดโปรพิเศษ “LAST DEAL ดีลส่งท้ายปี” กับโครงการ “บลู สุขุมวิท 89” และ “บลู สุขุมวิท 105” วันที่ 14-15 ธ.ค.นี้
2024-12-06
เฮเฟเล่ ประเทศไทย รุกตลาดลักชูรี ตั้งเป้าปี 2573 ยอดขายโต 10,000 ลบ. พร้อมดันไทยเป็นฮับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2024-12-06
อ่านสนุก ได้ความรู้ด้วย
ชอบมาก ขอบคุณมากคะ
อ่านแล้วรู้สึกดี จะดีกว่านี้ถ้าโครงการลดราคาและให้ของฟรีด้วย อิอิ