รายการโปรด
บิ๊กเนมชะลอตุนซื้อที่ดินปี 63 บางทำเล หากเห็นซัพพลายล้น รับมือเศรษฐกิจโลกชะลอ พฤกษา เดินตามแผน แลนด์ ทุ่มงบซื้อที่ดินสูงกว่า
บริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ส่วนมากมักชะลอซื้อที่ดินในปี 2563 ต่อเนื่องมาจากปี 2562 จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว กำลังซื้อหายไปจากตลาด สถาบันการเงินปฏิเสธสินเชื่อ ผลกระทบเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแอลทีวี ประกอบกับราคาที่ดินขยับแพงเว่อร์ ไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยขายในราคาที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อโดยเฉพาะทำเลในเมืองแนวรถไฟฟ้า
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ พฤกษาเรียลเอสเตท-พรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปี 2563 บริษัทชะลอซื้อที่ดินบางทำเล แนวเส้นทางรถไฟฟ้าออกไป หากเห็นว่ามีซัพพลายสูง และเน้นทำเลที่มีกำลังซื้อจริง
สอดคล้องกับ นางอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ริชี่เพลซ 2002 ในฐานะนายกสมาคมอาคารชุดไทย สะท้อนว่าเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัว ผลกระทบจากแอลทีวี จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม บางทำเลซัพพลายล้น มีหลายปัจจัยมากระทบ ส่งผลให้หลายค่ายต่างปรับลดการซื้อที่ดินและชะลอโครงการ เช่นเดียวกับบริษัทปรับแผนขึ้นโครงการในบางทำเลแต่โครงการติดสถานีรถไฟฟ้ามองว่ายังไปได้
ขณะ ค่ายแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ปี 2563 ใช้งบซื้อที่ดินสูงกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา 2,000 ล้านบาท อาจเป็นไปได้ว่าราคาที่ดินสูงขึ้นหรือต้องการขยายโครงการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุว่าในปี 2563 บริษัทเตรียมงบลงทุนประมาณ 11,000 ล้านบาท
ประกอบด้วยงบสำหรับการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประมาณ 7,000 ล้านบาท และงบลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่าอีกจำนวน 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะขายอพาร์ตเมนต์ 1 แห่งในสหรัฐอเมริกา และมีแผนที่จะออกหุ้นกู้อีกจำนวน 14,000 ล้านบาท จากแผนการดำเนินงานของบริษัทในปี 2563 คาดว่า ณ สิ้นปี 2563 บริษัทจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อสิ้นปี 2562 โดยจะมีต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยลดลงกว่าระดับเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2562
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปี 2562 บริษัทมีรายจ่ายด้านการลงทุนประมาณ 6,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย 5,000 ล้านบาท และรายจ่ายในการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า มูลค่ารวม 1,500 ล้านบาท ประกอบด้วยลงทุนในการพัฒนาโครงการช็อปปิ้งมอลล์-เทอร์มินอล 21 จำนวน 900 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจโรงแรมและอพาร์ตเมนต์ 600 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในปี 2562 บริษัทขายโรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยท์ สุขุมวิท 55 ให้กับกองทุนทรัสต์ เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ LHHOTEL ในมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนภาษีเป็นจำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนการเปิดโครงการใหม่ปีที่ผ่านมามี 16 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 30,535 ล้านบาท
ขอบคุณข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ได้ไอเดียๆ ดีๆ จากนี้นี่เลย ขอบคุณค่ะ เขียนบทความบ่อยๆ น๊าา
เหมาะสำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลในการที่จะซื้อคอนโดซักที่มากๆเลยครับ
ดีไซน์เว็บสวยดีค่ะ ดูง่าย ชอบมาก
ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ
อ่านไม่เบื่อเลยค่ะ
บทความดีครับ