News
icon share

แยกเกษตร ขุมทรัพย์ใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย

LivingInsider Report 2019-10-25 10:52:05
แยกเกษตร ขุมทรัพย์ใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย

 

บีทีเอส ขยับเดินอีก4 สถานี ดันแยกเกษตรฯ ทำเลทองใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย นํ้าตาล-เขียวเหนือ-แดง คอนโดฯ ปักหมุดรอพรึบรับเมืองมหาวิทยาลัย ตามด้วยมิกซ์ยูส ระดับเจ้าสัวเตรียมปักหมุดคึกคัก

 

วันที่ 5 ธันวาคม 2562 รถไฟฟ้าบีทีเอสจะพาผู้โดยสารมาถึง สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกหนึ่งทำเลน่าจับตา เนื่องจากผู้คนพลุกพล่าน เป็นย่านเมืองมหาวิทยาลัย มีนิสิต นักศึกษา หมุนเวียนเข้าพื้นที่ อีกทั้งหน่วยงานราชการ คนทำงาน ร้านค้า ย่านพักอาศัย ประเมินว่าจะมีผู้ใช้บริการบีทีเอสส่วนต่อขยาย จากสถานีห้าแยกลาดพร้าวมายังสถานีนี้มากถึง 1 แสนคนต่อวัน

 

ขณะการเชื่อมโยงการเดินทางมีแยกเกษตรศาสตร์ แกนหลักโซนตะวันออกของกรุงเทพ มหานครมีถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตรฯ-นวมินทร์) อนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-มีนบุรี) ตัดส่วนต่อขยายสายสีเขียวบนถนนพหลโยธิน และเชื่อมทะลุถนนวิภาวดีรังสิตมีรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สถานีบางเขน 

 

แต่บริเวณนี้มีเสียงสะท้อนว่าสถานีห่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฝั่งวิภาวดีฯ ถึง 1 กิโลเมตร แต่อนาคตจะมีการเชื่อมโยงด้วยสกายวอล์กช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก อย่างไรก็ตาม พื้นที่รอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีที่ว่างอยู่มากราคาที่ดินไม่แพง เนื่องจากมีที่ดินราชการอยู่มาก แต่ผู้ประกอบการนิยมซื้อหมู่บ้านจัดสรรเก่า รวมแปลงขึ้นคอนโดมิเนียมในซอย ทั้งทำเล เสนานิคม บางบัว ทำเลเกษตรฯ-นวมินทร์ ฯลฯ

แยกเกษตร ขุมทรัพย์ใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย

 

ส่วนความคึกคักของคอนโดมิเนียมช่วงก่อนหน้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-คูคต) จะก่อสร้างเริ่มมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้น ทั้งบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ปักหมุดบริเวณต้น ๆ ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ ใกล้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับค่ายพฤกษาแชปเตอร์วันห่างจากแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประมาณ 100 เมตร เปิดขายหมดเกลี้ยงภายในวันเดียว 

 

ย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม สถานีบางบัวห่างจาก สถานีเกษตรศาสตร์ 1 สถานี คอนโดมิเนียมห่างจากสถานีรถไฟฟ้า 1-2 กิโลเมตร ห้องขนาด 27-30 ตารางเมตร บอกขายที่ 9 แสนบาท ห้องหัวมุม 1.1 ล้านบาท เรียกว่าค่อนข้างแพงแม้รถไฟฟ้ายังไม่ก่อสร้าง

 

อย่างไรก็ตาม ทำเลใกล้มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ มีโครงการคอนโด มิเนียมเกิดขึ้นรายล้อม การเดินทางใกล้เพียง 1-2 สถานี หากสำรวจตั้งแต่ถนนพหลโยธิน ซอย 30 เยื้องเมเจอร์รัชโยธินจะมีโครงการแมสซารีน คอนโด มิเนียมของ บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด (แกรนด์ยูนิตี้) ของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซื้อร้านอาหารขึ้นโครงการ ไม่ห่างกันจะเป็นค่ายเอสซี แอสเสท เปิดขายคอนโดมิเนียม เซนทริก และค่าย แอล.พี.เอ็น. โครงการลุมพินี พาร์ค พหล 32 เลยไปยังแยกเสนาฯ จะพบ โครงการพรีเมียมเพลส อยู่ติดกับโรงพยาบาลเมโย ส่วนฝั่งตรงข้ามจะเป็นคอนโดฯ โลว์ไรส์ ควิน ของค่ายเล็ก

 

สำหรับ กลุ่มเซ็นทรัล ซื้อร้านอาหารน้อมจิตต์บริเวณพหลโยธิน 34 ขึ้นโครงการ ฟิน (PHYN) ขณะที่กำลังขึ้นโครงการอีกแห่ง บริเวณแยกรัชโยธิน ซื้อที่ดินร้านข้าวผัดปูเมืองทอง เป็นต้น

 

เรียกว่าโซนที่รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ที่จะวิ่งผ่านอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีพหล 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม และ สถานีมหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ เป็นโซนร้อนแรงมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ส่วนทำเลก่อนข้ามไปแยกรัชโยธินจะมีค่ายออริจิ้น อยู่ตรงข้ามตึกช้าง

 

สำหรับโครงการขนาดใหญ่มิกซ์ยูส มีหลายโครงการ ห่างจาก สถานีห้าแยกลาดพร้าว มานิดเดียว กลุ่มเซ็นทรัล เตรียมพัฒนามิกซ์ยูส บนเนื้อที่ 49 ไร่ บริเวณถนนพหลโยธิน ตรงข้ามแดนเนรมิตเก่า ทะลุไปยังถนนวิภาวดีฯ ใกล้ตึกซินวัตร 3 ฐานเศรษฐกิจเก่า

 

ฝ่ายวิจัย ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ พบว่า สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยกว่าเรื่องของราคาที่ดินและโครงการคอนโดมิเนียมคือ การเกิดขึ้นของอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่น ๆ เริ่มเคลื่อนไหวให้เห็น รอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว เหนือ (หมอชิต-คูคต) สถานีรถไฟฟ้าหมอชิตมีโครงการมิกซ์ยูส ที่มีแผนจะพัฒนาอยู่ในพื้นที่โครงการบางกอก เทอร์มินอลที่มีทั้งโรงแรม พื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 

 

และสถานีขนส่งที่แม้ว่าจะยังไม่มีความเคลื่อนไหวเป็นรูปธรรมแต่ก็ยังคงไม่ได้มีการยกเลิกโครงการไป โครงการเดอะยูนิคอร์น โครงการมิกซ์ยูสของกลุ่มซิโน-ไทยที่มีทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก และศูนย์กีฬาที่คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2563 กลุ่มสิงห์เอสเตทที่เป็นเจ้าของอาคารซันทาวเวอร์สมีการเช่าและซื้อที่ดินโดยรอบเพื่อพัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน อาคารจอดรถ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง

 

ขอบคุณข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/content/412618

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider