News

เปิดโมเดลรูปแบบ ทางด่วน-รถไฟฟ้า แก้รถติดเกษตร-นวมินทร์เชื่อมโยงการเดินทางตะวันออก-ตะวันตก

LivingInsider Report 2018-02-19 15:02:27

เปิดโมเดลรูปแบบ”ทางด่วน-รถไฟฟ้า”แก้รถติดเกษตร-นวมินทร์เชื่อมโยงการเดินทางตะวันออก-ตะวันตก

 

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมในระยะยาว เพื่อดำเนินโครงการศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์เสาตอม่อ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ หรือถนนเกษตร – นวมินทร์

 

แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นเส้นทางเชื่อมกับระบบทางพิเศษระหว่างเมืองด้านตะวันออก – ตะวันตก ต่อมาในปี 2557 กระทรวงคมนาคม มีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อโครงการระบบทางด่วนดังกล่าวให้เกิดประโยชน์

 

และในปี 2560 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร. )มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการ ขนส่งและจรจร(สนข.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและเชื่อมต่อต่างๆ

 

เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร ผลศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน2561

 

“เบื้องต้นผลศึกษาสรุปรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้า และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน จะรองรับการเดินทางได้ดีที่สุดโดนทางด่วนใช้เวินลงทุน25,000ล้านบาทและรถไฟฟ้าอยู่ที่50,000ล้านบาท ส่วนระบบอยู่ระหว่างพิจารณเช่น โมโนเรล”

 

จะสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน

 

ขณะที่ระบบทางด่วนจะเชื่อมโยงโครงข่ายทางด่วนระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ


ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร ถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจ


รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ

 

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน
แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ

 

ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350จุดตัดถนนนวมินทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22กม. จำนวนสถานีเบื้องต้น 21 สถานี

 

ในส่วนของระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก


จะเชื่อมกับส่วนต่อขยายที่ทางแยกต่างระดับรัชวิภา

 

โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2ช่วง คือ ช่วงแนวทางด่วนขั้นที่ 3สายเหนือ ตอน N2และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทางประมาณ 12กม. และ ช่วงทดแทน ตอน N1 ไปตามแนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ระยะทางประมาณ 7กม.

 

ทั้งนี้ สนข. จะได้นำเสนอ คจร. เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนาโครงการ ก่อนมอบหมาย สนข. พิจารณาระยะเวลาการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่เหมาะสม และมอบหมาย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายระบบทางด่วนทดแทน ตอน N1 ไปพร้อมกับการพัฒนาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบการจราจรบริเวณแยกเกษตร

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่2เมื่อวันที่19ก.พ.2561 ยังมีคัดค้านการสร้างทางด่วนเนื่องจากทำให้เกิดมลพิษ แต่สนับสนุนรถไฟฟ้า. ซึ่งสนข.จะนำความคิดเห็นของประชาชนไปประมวลรายละเอียดและสรุปผลมนเดือนมิ.ย.นี้

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

https://www.prachachat.net/property/news-119047

 

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider