
หน้าแรก
ดอกเบี้ยคือค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บจากการให้คุณกู้ยืมเงิน โดยอาจเปรียบได้ว่าดอกเบี้ยก็คือ “ค่าเช่าเงิน”โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านจะอ้างอิงเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้หรือ MRR ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ MRR ปัจจุบันอยู่ที่ 6.6% อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อ “MRR -2.1%” จะอยู่ที่ 4.5%
อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ (MRR) คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต่าง ๆ ใช้อ้างอิงภายใน ก่อนที่จะ มีการตัดสินใจว่าจะคิดค่าบริการเท่าไหร่จากการให้บริการสินเชื่อและบริการอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยนี้คือ อัตราดอกเบี้ยที่คิดจากต้นทุนในการบริหารงานของธนาคารซึ่งโดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้นี้ จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นลง ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
สินเชื่อบ้านที่ใช้อัตราดอกเบี้ยผันแปร (หรือ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว) คือสินเชื่อประเภทที่อาจมีการ เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ในอนาคต
ในทางตรงกันข้าม สินเชื่อบ้านที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตลอด ระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ
สินเชื่อบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร (ธนาคารทุกแห่งที่คิดอัตราดอกเบี้ย ของสินเชื่อบ้านในรูปแบบ “MRR –xx%” คือการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร)
ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระของสินเชื่อบ้านของคุณ (หรือ เงินต้น) โดยทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะคำนวณและเรียกเก็บเป็นรายเดือน
ตัวอย่าง สมมุติว่าคุณกู้สินเชื่อบ้านเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท จากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ย MRR -2.1% และสมมุติต่อไปว่า MRR อยู่ที่ 6.6%
ในเดือนแรก
ยอดรวมของดอกเบี้ยที่เรียกเก็บโดยธนาคารคือ:
5,000,000 บาท x (6.6% – 2.1%) / 12 = 18,750 บาท ดอกเบี้ยที่คุณต้องชำระอาจลดลงได้ในเดือนถัดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยอดที่คุณต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน สมมุติว่ายอดผ่อนชำระต่อเดือนของคุณคือ 30,000 บาท
ในเดือนที่สอง:
ดอกเบี้ยของเดือนก่อน = 18,750 บาท (ดูด้านบน) ยอดเงินที่กำหนดเพื่อลดยอดค้างชำระของสินเชื่อ = 30,000 บาท (ยอดผ่อนชำระของเดือนก่อน) – 18,750 บาท (ดอกเบี้ยของเดือนแรก) = 11,250 บาท
ยอดค้างชำระในเดือน 2
5,000,000 บาท (เงินต้น) – 11,250 บาท (จำนวนเงินที่ใช้ลดยอดค้างชำระในเดือน 1) = 4,988,750 บาท
ยอดรวมของดอกเบี้ยที่เรียกเก็บโดยธนาคารในเดือน 2:
4,988,750 บาท x (6.6% – 2.1%) / 12 = 18,710 บาท
Daily Rest vs Monthly Rest ดอกเบี้ยรายวัน และ รายเดือน
การคำนวณดอกเบี้ยอาจทำการคำนวณ “รายวัน” หรือ “รายเดือน” ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสินเชื่อ แผนผังด้านล่างจะแสดงความแตกต่างระหว่างการคำนวณ “รายวัน” กับ “รายเดือน”
สินเชื่อบ้านที่คำนวณรายวันจะดีกว่าสินเชื่อที่คำนวณรายเดือน ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือคุณสามารถ ประหยัดค่าดอกเบี้ยได้ในกรณีที่คุณชำระเงินก้อนใหญ่คืนสินเชื่อในช่วงกลางเดือน (ก่อนครบกำหนด ชำระคืนเงินกู้)
ขอบคุณข้อมูลจากคุณ cmcpro2017
http://www.cmc.co.th/news.php?id=1709
“พรีเมียร์ ซิตี้ สุขุมวิท-ปู่เจ้า” ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ จัดมินิอีเวนต์เปิดโซนใหม่ 24-25 พ.ค. 68 พร้อมโปรพิเศษ “ซื้อบ้านแถมทอง ไม่ต้องลุ้น” จองปั๊บ รับทองคำ 1 บาท*
8 ชั่วโมงที่แล้ว
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย รุกตลาดอสังหาฯ อีสาน เปิดตัวบ้านหรู 2 โครงการใหม่ในขอนแก่น-โคราช แบรนด์ “แกรนดิโอ” บนทำเลใจกลางเมือง ติดถนนใหญ่ เริ่ม 5-20 ลบ.*
9 ชั่วโมงที่แล้ว
EnergyLIB เปิดตัว “LIB Solar Townhome” ครั้งแรกในไทยกับระบบโซลาร์ออกแบบเฉพาะสำหรับทาวน์โฮม พร้อมสโลแกน “เปิดแอร์ชิล 8 ชั่วโมง”
9 ชั่วโมงที่แล้ว
แอสเซทไวส์ จัดแคมเปญ “พร้อม Move พร้อม Match” คัดคอนโดพร้อมอยู่และลงทุน เสิร์ฟดีลใหญ่ผ่อนให้นาน 2 ปี* ลดทันทีสูงสุด 1.5 ล้าน* วันนี้-30 มิ.ย. 68
11 ชั่วโมงที่แล้ว
แกรนด์ ยูนิตี้ นำ 6 คอนโดโลว์ไรส์พร้อมอยู่ทั่วกรุงเทพฯ จัดโปรพิเศษ “GRAND UNITY ALL SAFE” ให้ครบ..จบจริง พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 1 ลบ.* เริ่ม 1.69 ลบ.* ตั้งแต่วันนี้-1 มิ.ย.นี้
11 ชั่วโมงที่แล้ว
ชอบบทความดีไซด์มากเลยค่ะ ได้ไอเดียไปด้วย
ขอบคุณที่ทำเว็บดีๆ แบบนี้มาให้ได้อ่านกันนะคะ
ตัวหนังสืออ่านง่ายมาครับ
ชอบบทความที่นี่จัง ได้ความรู้
อ่านแล้วต้องอุทานว่า เริ่ด!!!
ได้ความรู้