รายการโปรด
เทรนด์การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถสร้างรายได้จากการซื้อมาขายไป การซื้อเพื่อปล่อยเช่าก็กำลังเป็นที่นิยมเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนสร้างรายได้แบบ Passive Income ซึ่งข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าที่ดินมีอะไรบ้าง ไปทำความเข้าใจพร้อมกันเลย
สัญญาเช่าที่ดินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน โดยอิงจากระยะเวลาในการเช่า ได้แก่ สัญญาเช่าที่ดินระยะสั้น และสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เป็นการทำสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปี โดยผู้ให้เช่าและผู้เช่าสามารถทำหนังสือสัญญาเช่าด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนร่วมกัน ณ สำนักงานที่ดิน สัญญาเช่าที่ดินระยะสั้นส่วนใหญ่จะระบุรายละเอียดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า, วัน/เดือน/ปีที่ทำสัญญา, ค่าเช่า, ระยะเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด, เงื่อนไข, ลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อพยานของทั้งสองฝ่าย
เป็นการทำสัญญาเช่าเกิน 3 ปีขึ้นไป โดยผู้ให้เช่าและผู้เช่าไม่สามารถทำหนังสือสัญญาเช่าด้วยตนเอง จำเป็นต้องเดินทางไปจดทะเบียนร่วมกัน ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น สำหรับสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ดังนี้
สัญญาเช่าแบบธรรมดาเป็นรูปแบบสัญญาที่พบเห็นทั่วไป ผู้เช่าชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าตามที่ตกลงกันไว้ และมักมีข้อแม้ที่ว่า ผู้เช่าไม่สามารถโอนสิทธิ์เช่าให้แก่ผู้อื่นได้ ในกรณีเกิดปัญหาฟ้องร้อง จำเป็นต้องมีหนังสือสัญญาเช่าที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน รวมทั้งระยะเวลาในการยื่นฟ้องต้องไม่เกินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า
สัญญาเช่าต่างตอบแทนเป็นรูปแบบสัญญาที่ผู้ให้เช่าได้รับทั้งค่าเช่าและค่าตอบแทนพิเศษอื่นๆ ตามที่ตกลงกันไว้ โดยผู้เช่าสามารถโอนสิทธิ์เช่าไปยังผู้สืบทอดได้ ในกรณีหากผู้เช่าต้องการปรับปรุง ต่อเติม ตกแต่ง หรือสร้างอาคารเพิ่มเติม สามารถทำได้ ส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบ แต่กรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินทั้งหมดยังเป็นของผู้ให้เช่าตามเดิม
ข้อมูลสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาเช่าที่ดิน
ข้อมูลสำคัญที่ต้องระบุในสัญญาเช่าที่ดิน มีดังนี้ สถานที่ทำสัญญา, วันเดือนปีที่ทำสัญญา, ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้เช่าและผู้เช่า, ข้อตกลงและเงื่อนไขในการเช่าโดยละเอียด, ลงลายมือชื่อผู้ให้เช่าและผู้เช่า, ลงลายมือชื่อพยานของทั้งสองฝ่าย จากนั้นผู้ให้เช่าและผู้เช่าเก็บหนังสือสัญญาเช่าไว้คนละ 1 ฉบับ
สัญญาเช่าที่ดิน เกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนไหม
เชื่อว่ายังมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นความสำคัญในการเลือกทำสัญญาเช่าที่ดินให้ถูกประเภท ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากความประมาทหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อไม่เกิดปัญหาก็ไม่เห็นความสำคัญ ด้วยประสบการณ์ในการทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์ของ Living Insider ทั้งในรูปแบบเช่า/ซื้อที่ดิน หรือเช่า/ซื้อบ้าน ขอแนะนำให้ทุกคนใส่ใจรายละเอียดในขั้นตอนการทำสัญญาเช่า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในอนาคตได้
อ่านแล้ว สัมผัสได้เลยว่าตั้งใจเขียน เยี่ยมค่ะ
เขียนบทความน่าอ่านมากเลย
อ่านเพลิน เขียนดี