รายการโปรด
สวัสดีครับ เจอกันอีกครั้งกับประกันเรื่องใกล้ตัว กับ Art Living Insure ครับ
อีกไม่ถึงเดือนก็จะสิ้นปี 2565 กันแล้ว เพื่อน ๆ มีแผนทำอะไรกันบ้างเอ่ย? หรือกำลังวางแผนกันอยู่ใช่ไหมครับ? บางคนกำลังหาที่เที่ยวไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ บางคนอาจรอรับโบนัสสิ้นปีแบบจุก ๆ หรือบางคนก็คิดว่าขอนอนอยู่บ้านบ้างเถอะเหนื่อยมาทั้งปีแล้วเปิด Netflix ดูซีรีส์กันยาวๆ ไป ซึ่งผมเชื่อว่าแต่ละคนจะมีสไตล์การพักผ่อนแตกต่างกันไป ยังไงผมก็ขอให้เพื่อน ๆ มีความสุข สนุกในเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้นะครับ
ช่วงสิ้นปีนี้ หลายคนมีการวางแผนทำอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่มีอย่างหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อน ๆ อย่าลืมวางแผนกันคือ การวางแผนทางด้านภาษี เพราะอะไรหรอครับ? เพราะเราต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90,91) ในปีหน้ากันยังไงครับ เพื่อน ๆ อย่าลืมเน้อ....ซึ่งถึงตอนนั้นถ้าไม่มีการวางแผนหรือวางแผนไม่ดี เราอาจจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมากก็ได้ ทั้ง ๆ ที่เราสามารถประหยัดภาษีได้ด้วยรายการลดหย่อนต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้
ทราบไหมครับว่ารายได้ทั้งปีที่เราได้มาต้องเสียภาษีเท่าไร?
รายได้ทั้งปีที่ต้องนำมาคำนวณภาษีจะเป็นรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและรายการลดหย่อนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่ารายได้สุทธิต่อปีแต่ละฐานต้องเสียภาษีกันเท่าไร
เพื่อน ๆ ลองดูตัวเลขกันนะครับ เป็นภาษีที่คำนวณแบบอัตราก้าวหน้า รายได้สุทธิของเรายิ่งเยอะเท่าไร ภาษีก็ยิ่งจะเยอะตามเท่านั้น ฉะนั้น ควรวางแผนกันให้ดี ๆ นะครับ
เห็นจำนวนภาษีที่ต้องเสียกันแล้ว เรามาดูตัวช่วยลดหย่อนภาษีกันบ้างดีกว่า รายการที่เพื่อน ๆ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สำหรับปี 2565 ผมรวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกันเลยครับ
ส่วนตัวและครอบครัว
ส่วนตัว 60,000
คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) 60,000
ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000
บุตร คนละ 30,000 (บุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ลดได้คนละ 60,000)
ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาตนเอง 30,000
ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาคู่สมรส 30,000
ค่าอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000
เบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันชีวิต
*ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000
*ประกันภัยสุขภาพ ไม่เกิน 25,000
(*รวมกันไม่เกิน 100,000)
ประกันชีวิตคู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 10,000
ประกันสุขภาพบิดามารดา ไม่เกิน 15,000
ประกันสังคม ไม่เกิน 6,300
ประกันชีวิตแบบบำนาญ ร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 (รวมลดหย่อนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
การออมและการลงทุน
*กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000
*กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 13,200
*กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000
*กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000
*หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ร้อยละ 30 ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000
*หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ร้อยละ 30 ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000
(*รวมกันไม่เกิน 500,000)
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ไม่เกิน 100,000
ลดหย่อนจากเงินบริจาค
เงินบริจาคทั่วไป ตามจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
สนับสนุนการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และสถานพยาบาลของรัฐ ได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
ลดหย่อนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000
โครงการช้อปดีมีคืน ปี 2565 ไม่เกิน 30,000
เห็นไหมครับว่าในปี 2565 นี้ มีรายการลดหย่อนภาษีมากมายที่เราสามารถเลือกนำมาวางแผนทางด้านภาษีของเราได้ จะได้ไม่ต้องมาเกิดอาการ “รับเงินมาแบบจุก ๆ แต่เสียภาษีแบบจุกกว่า” สำหรับใครที่มีข้อมูลพร้อมแล้วสามารถเข้าไปยื่นภาษีได้เลยที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ผมขอแวะเข้าเรื่องประกันสักหน่อย เพื่อนๆ เห็นไหมครับว่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพของตนเองสามารถนำมาลดหย่อนภาษีรวมกันได้ถึง 100,000 บาท ทั้งนี้ ตอนสมัครประกันผมแนะนำให้แจ้งบริษัทประกันไปเลยว่า “ยินยอมให้บริษัทประกันภัยเปิดเผยข้อมูลเบี้ยประกันภัยที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้กับกรมสรรพกร” เพื่อให้บริษัทประกันภัยดำเนินการแจ้งเบี้ยประกันภัยที่สามารถลดหย่อนภาษีได้แทนเราไปเลย หากเราเลือกไม่ยินยอม เราต้องขอหนังสือรับรองเบี้ยประกันจากบริษัทประกันภัยมายื่นภาษีเอง ซึ่งวิธีแรกสะดวกกว่าเยอะเลยครับ
แล้วแบบประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพไหนที่น่าสนใจ?
แบบประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพที่มีขายในตอนนี้มีให้เราเลือกมากมายเลยครับ แต่ผมอยากแนะนำว่าเราควรซื้อแผนประกันตามงบประมาณที่เรามีและไม่เดือดร้อนหลังจากที่ซื้อไปแล้ว เพราะเบี้ยประกันพวกนี้เราต้องจ่ายตามจำนวนปีที่กำหนด หรือบางแผนเราต้องจ่ายทุกปี ซึ่งวันนี้ผมอยากขอแนะนำแผนประกันชีวิตดี ๆ ที่ซื้อแล้วเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีแบบเน้น ๆ แบบไม่คิดชีวิต (ไม่สนใจทุนชีวิต) แถมไม่ต้องตรวจสุขภาพอีกต่างหาก มีแผนไหนบ้าง มาดูกันครับ
1. โอเชี่ยนไลฟ์ ซูเปอร์ รีเทิร์น 10/5
2. บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5
3. สมาร์ทซุปเปอร์เซฟวิ่ง 10/6
4. Easy E-SAVE 10/5
มาถึงตอนท้ายของ EP ที่ห้ากันแล้ว ทุกครั้งที่เราจะทำประกันภัยผมขอแนะนำว่า “ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง” และในการทำประกันภัยจะต้องยึดหลักที่ว่า “ความสุจริตใจอย่างยิ่งในการทำประกัน” เพราะจะได้ไม่ทำให้เกิดปัญหาในตอนเคลมกันครับ
จบแล้วครับสำหรับบทความใน EP ที่ห้า และใน EP ต่อไปผมจะมารีวิวหรือแนะนำแผนประกันอะไรต่อ รอติดตามกันนะครับ หรือถ้าใครมีข้อสงสัย หรือต้องการให้รีวิวแผนประกันอะไรเพิ่มเติมสามารถส่งมาได้เลยนะครับ
แล้วพบกันใหม่กับ ประกันเรื่องใกล้ตัว กับ Art Living Insure สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จ่ายเท่าไหร่ยังไงกันแน่
2020-08-21
ซื้อคอนโดที่กำลังสร้าง ต้องระวังปัญหาอะไรบ้าง
2020-02-21
10 ไอเดียซื้อเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นของขวัญวันแม่
2024-08-09
ภาพรวม มูลค่าซื้อขายโรงแรม ในประเทศไทย
2024-03-17
ส่อง 5 อันดับมหาเศรษฐีไทยที่ลงทุนธุรกิจอสังหาฯ ใครรวยสุด
2023-06-04
ชอบการเขียนลงทุนค่ะ
ขอบคุณไอเดียแต่งบ้านค่ะ
รีวิวโครงการรวดเร็วดีค่ะ
ถ่ายรูปสวยมาเลยครับ
ชอบนะคะ บทความหลากหลายดี